(1) Main website http://benjarongonline.blogspot.com/
#เบญจรงค์ #แก้วมัคเบญจรงค์#โถเบญจรงค์#ชุดน้ำชาเบญจรงค์#ชุดกาแฟเบญจรงค์
เบญจรงค์(benjarong) โถพญาครู แจกัน ชุดบูชาพระ โถพูล ของแต่งบ้าน แก้วมัค เบญจรงค์ จานโชว์ ขันตักบาตร ขันน้ำมนต์ แก้วกาแฟเบญจรงค์ ชุดสำหรับอาหารไทย ชุดเชี่ยนหมาก จานเชิง ตลับเบญจรงค์ ชุดกาน้ำชาเบญจรงค์ เตาสปา ของชำร่วย ของที่ระลึก ค่าบริการพิมพ์ Logo โถเบญจรงค์ พวงมาลัยสบู่ ผลงานของทางร้าน ของขวัญ ของชำร่วย ของที่ระลึก ของรับไหว้ แต่งงาน ของฝาก พรีเมี่ยม เครื่องเบญจรงค์ เบญจรงค์ ลายน้ำทอง ดอกไม้ แจกัน ceramic กระเบื้อง เซรามิค เซรามิก ของฝาก
เบญจรงค์ เป็นชื่อเรียกเครื่องถ้วยที่มีใช้ในประเทศไทยมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยาถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ เบญจรงค์มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน โดยมีช่างไทยออกแบบลวดลายและสีตามลักษณะของศิลปะไทย เบญจรงค์จึงกลายมาเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทยเนื่องจากเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความใจเย็นและความเอาใจใส่ชองช่างฝีมือไทย
5 สี "เบญจรงค์" ชื่อเรียกเครื่องถ้วยชนิดหนึ่งที่มีใช้ในประเทศไทยแต่ครั้งอยุธยาสืบถึงรัตนโกสินทร์ เป็นเครื่องถ้วยที่สั่งทำพิเศษจากแผ่นดินใหญ่โพ้นทะเล ช่างไทยออกแบบ ให้ลาย ให้สี ส่งไปให้ช่างจีนผลิตในประเทศจีน แล้วช่างไทยก็ตามไปควบคุมการผลิตให้ออกมาได้รูปลักษณะงามอย่างศิลปะไทย โดยเฉพาะลวดลายสีสันแสดงเอกลักษณ์ไทยชัดเจน
เครื่องเบญจรงค์หมายถึงเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ เขียนลายโดยลงยาด้วยสีต่างๆ นอกจากสีหลักทั้ง 5 อันมีสีดำ ขาว เหลือง แดง และเขียว(หรือคราม) ยังมีสีรองอย่างชมพู ม่วง น้ำตาล แสด มาเสริมสวย เป็นเครื่องถ้วยที่ต้องใช้ฝีมือสูง ต้องละเอียด ประณีต จากเครื่องใช้ในรั้วในวังถึงปัจจุบันเครื่องเบญจรงค์ยังได้รับความนิยมโดยเฉพาะในแง่เป็นตัวแทนแสดงความเป็นไทย (แม้รากฐานจะเป็นของจีนก็ตาม)
ย้อนอดีตสู่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 รัชสมัยจักรพรรดิซวนเต๊อะ (ครองราชย์พ.ศ.1969-1978) ราชวงศ์หมิง มีการผลิตเครื่องเคลือบเขียนลายลงยาขึ้นครั้งแรกที่แคว้นกังไซ (ไทยเรียกกังไส ที่มาของชื่อเรียกเครื่องกังไส) มณฑลเจียงซี และพัฒนาต่อมาจนเป็นที่นิยมอย่างมากในรัชสมัยจักรพรรดิเฉิงฮั่ว (พ.ศ.2008-2030) การเขียนลายโดยวิธีลงยาดังกล่าวใช้ตั้งแต่ 3 สีขึ้นไป
ถึงยุคจักรพรรดิวั่นลิ (พ.ศ.2116-2162) มีการผลิตเครื่องเคลือบแบบเบญจรงค์มากที่สุด ติดต่อมาถึงสมัยราชวงศ์ชิง (ปกครองจีนระหว่างพ.ศ.2187-2454) ความสวยงามเข้าตาสยาม จีนรับออร์เดอร์ไม่หวัดไหวให้ผลิตภาชนะเป็นแบบไทย มีการเขียนลาย ให้สี ส่งเป็นตัวอย่างมาให้ เป็นเบญจรงค์ที่ให้ความรู้สึกว่าเป็นของไทยอย่างยิ่ง ครั้นจะผลิตเองยามนั้นก็ออกจะติดขัดอยู่ เนื่องจากไทยยังไม่มีเทคนิคการผลิตที่ดี มีแต่ฝีมือเยี่ยมในการออกแบบลวดลายได้วิจิตร
เครื่องเบญจรงค์มาแรกเริ่มผลิตในประเทศไทยในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นเตาเผาของกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเครื่องเบญจรงค์ หรือเรียกเครื่องถ้วย มีทั้งแก้วน้ำ ถ้วยกาแฟ กาน้ำชา ชุดถวายข้าวพระพุทธ ตลับใส่ของ และนานา ขั้นตอนการผลิตเริ่มจาก 1.นำเครื่องเคลือบขาวมาล้างให้สะอาด (หากสามารถ เป็นเครื่องดินเผาที่ปั้นเองก็เข้าที แล้วนำมาเคลือบขาว) 2.ตั้งแป้นวนเส้นกำหนดลาย 3.เขียนลายด้วยน้ำทอง 4.ลงสี 5.วนทองส่วนที่เหลือ และ 6.เข้าเตาเผา
ลายยอดนิยมคือลายกระหนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเทพนม นรสิงห์
เครื่องเบญจรงค์ เป็นงานหัตถศิลปล้ำค่า ที่มีความสวยงามแสดงถึงวิถีวัฒนธรรม รสนิยม และเอกลักษณ์ของไทย รัฐบาลจึงเลือกนำมาเป็นภาชนะสำหรับจัดเลี้ยงอาหารค่ำ ต้อนรับผู้นำประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเซีย และแปซิฟิค (เอเปค 2003) ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯระหว่างวันที่ 20 – 21 ตุลาคมนี้ นอกจากนี้ยังจัดทำเป็นของที่ระลึกเพื่อมอบให้กับผู้นำประเทศต่างๆ อีกด้วย เครื่องเบญจรงค์มีการผลิตขึ้นครั้งแรกเมื่อใด ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด แต่สันนิษฐานจากการขุดพบที่พระนครศรีอยุธยา และจากลักษณะของลวดลาย สี เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเครื่องถ้วยจีน และบางชิ้นที่มีเครื่องหมายบอกรัชกาล เชื่อว่ามีการสั่งทำเครื่องเบญจรงค์จากประเทศจีนมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยช่างคนไทยจะเป็นผู้วาดลวดลาย และเขียนสี ส่งไปผลิตในจีน ดังนั้นลักษณะของเครื่องเบญจรงค์จึงมีความงดงามอย่างไทย ยิ่งกว่าเครื่องปั้นดินเผาประเภทอื่นๆ แม้แต่เครื่องสังคโลกซึ่งเป็นของไทย ผลิตในประเทศไทย ก็ยังไม่แสดงเอกลักษณ์ไทยอย่างเครื่องเบญจรงค์ ภาชนะที่ผลิตจากเบญจรงค์มีหลายประเภท ได้แก่ ชาม จาน โถ จานเชิง ชามเชิง ช้อน กระโถน กาน้ำ ชุดถ้วยชา ฯลฯ การใช้สีบนเครื่องเบญจรงค์ นิยมใช้ห้า สี แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีตั้งแต่ สี่ สี ไปจนถึง แปด สีก็มี จนถึงเจ็ดแปดสี สีหลักที่ใช้ได้แก่ แดง เหลือง ขาว ดำ เขียว หรือน้ำเงิน สีอื่นได้แก่ ชมพู ม่วง แสด น้ำตาล ในสมัยก่อนมีการสั่งทำเครื่องเบญจรงค์สำหรับใช้ในราชสำนัก วังเจ้านาย และบ้านขุนนางชั้นสูง แต่ปัจจุบันเครื่องเบญจรงค์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั้งยุโรป และเอเซีย สร้างชื่อเสียงและทำรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมากมายลวดลายที่เขียนบนเครื่องเบญจรงค์ เป็นลายโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้แก่ ลายเทพพนมนรสิงห์ ลายบัวเจ็ดสี ลายประจำยาม ลายเบญจมาศ ลายวิชาเยนท์ ฯลฯ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีลายที่นิยมเพิ่มขึ้นได้แก่ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายนกไม้พญาสิงขร ลายกุหลาบทอง ฯลฯ สำหรับ ร้านเบญจรงค์เก่าแก่ที่อนุรักษ์ลายโบราณ ตั้งอยู่ที่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำ ช่างของร้านได้เลือกลายวิชาเยนท์เขียน ลงบนเบญจรงค์ชุดดังกล่าว ซึ่งเป็นลวดลายที่มีความโดดเด่นในการผูกลาย ผสมผสานความเป็นตะวันตก และตะวันออกได้อย่างลงตัว อีกทั้งสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาไทย ความพิเศษของเบญจรงค์ชุดนี้ อยู่ที่เป็นงานฝีมือ หรือที่เรียกว่า หัตถกรรมล้วนๆ ในกรรมวิธีลงลายน้ำทอง และยังใช้น้ำทองคำจริง 22 กะรัตนำเข้าจากประเทศเยอรมนี ช่วยเพิ่มความงดงามล้ำค่าให้กับเครื่องเบญจรงค์ดังกล่าวยิ่งขึ้นเป็นที่น่าภูมิใจที่ไทยเรามีหัตถศิลปอันงดงาม ซึ่งนอกจากจะสามารถสร้างความประทับใจแก่ชาวต่างชาติที่ได้พบเห็นแล้ว ยังได้เผยแพร่ความเป็นไทยให้คนทั่วโลกได้ประจักษ์อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น